ป่าต้นน้ำ

เมื่อศึกษาลึกลงไปถึงความหมายของป่าไม้ที่จัดได้ว่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร หรือที่เรียกว่า ป่าต้นน้ำ จะหมายถึง ป่าธรรมชาติที่ปรากฎอยู่บริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป หรือเป็นพื้นที่ลาดชันมากกว่า 35% ชนิดของป่าไม้ที่มักจะปรากฎให้เห็นในพื้นที่ต้นน้ำ ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

ทั้งนี้พื้นที่ต้นน้ำแห่งหนึ่งอาจถูกปกคลุมไปด้วยป่าไม้เพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดปะปนกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ลักษณะภูมิประเทศ ชนิดของดิน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ระบบนิเวศของป่าต้นน้ำมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามชนิด ปริมาณ และประเภทของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในผืนป่า แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ คุณค่าของป่าต้นน้ำ ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการดูดซับและเก็บกักน้ำฝนตามธรรมชาติ ตลอดจนการควบคุมการกัดชะพังทลายของดิน รวมทั้งการช่วยลดความร้อนแรงจากแสงอาทิตย์ และช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง ผลการศึกษาของสถานีวิจัยต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบว่าป่าต้นน้ำชนิดต่างๆ จะให้น้ำไหลในลำธาร เฉลี่ยร้อยละ 30.73 และถูกต้นไม้ดึงกลับขึ้นไปใช้ในการระเหย เฉ

โดยปกติแล้ว ธรรมชาติการดำรงอยู่ของดิน น้ำ และป่าไม้ จะเป็นไปในลักษณะที่สมดุลและเกื้อกูลกันตลอด หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจะถูกทำลายลงไปในจำนวนที่ไม่มากนัก ปัจจัยที่เหลืออยู่จะช่วยกันฟื้นฟูปัจจัยที่ถูกทำลาย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างรวดเร็ว อาทิ เมื่อต้นไม้ถูกลมพายุพัดล้มลงไปหนึ่งต้น ดินที่สมบูรณ์และน้ำที่ชุ่มชื้นจะช่วยให้ต้นไม้ที่อยู่ข้างเคียง เจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้าม หากป่าไม้ถูกทำลายลงไปเป็นบริเวณกว้างอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลายาวนาน จะส่งผลให้ปัจจัยอื่นๆ ที่เหลืออยู่เสื่อมสภาพลงตามไปด้วย กล่าวคือ การทำลายป่าไม้ เป็นการเปิดโล่งของผิวดิน ทำให้ผิวดินถูกอัดแน่นขึ้น ความสามารถในการดูดซับน้ำฝนจึงมีน้อยลง เมื่อดินดูดซับน้ำฝนได้น้อย น้ำฝนที่ตกลงมาส่วนใหญ่จึงเอ่อนองตามผิวดิน และไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งการไหลอย่างรวดเร็วที่ผิวดินนี้ ทำให้เกิดการกัดชะและพัดพาเอาผิวหน้าดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารไปด้วย เมื่อฝนหยุดตก น้ำฝนที่ซึมลงไปในดินน้อย ทำให้ไม่มีน้ำเอื้ออำนวยให้กระบวนการระเหยน้ำ พลังงานจากรังสีดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่จึงเพิ่มความร้อนในดินและอากาศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศจะขยายตัวและรองรับไอน้ำมากขึ้น โอกาสที่ฝนตกจึงมีน้อยลง เป็นวงจรที่เชื่อมโยงและส่งผลกระทบถึงกันทั้งหมด

ทั้งนี้พื้นที่ต้นน้ำแห่งหนึ่งอาจถูกปกคลุมไปด้วยป่าไม้เพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดปะปนกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ลักษณะภูมิประเทศ ชนิดของดิน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ระบบนิเวศของป่าต้นน้ำมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามชนิด ปริมาณ และประเภทของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในผืนป่า แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ คุณค่าของป่าต้นน้ำ ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการดูดซับและเก็บกักน้ำฝนตามธรรมชาติ ตลอดจนการควบคุมการกัดชะพังทลายของดิน รวมทั้งการช่วยลดความร้อนแรงจากแสงอาทิตย์ และช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง ผลการศึกษาของสถานีวิจัยต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบว่าป่าต้นน้ำชนิดต่างๆ จะให้น้ำไหลในลำธาร เฉลี่ยร้อยละ 30.73 และถูกต้นไม้ดึงกลับขึ้นไปใช้ในการระเหย เฉ

โดยปกติแล้ว ธรรมชาติการดำรงอยู่ของดิน น้ำ และป่าไม้ จะเป็นไปในลักษณะที่สมดุลและเกื้อกูลกันตลอด หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจะถูกทำลายลงไปในจำนวนที่ไม่มากนัก ปัจจัยที่เหลืออยู่จะช่วยกันฟื้นฟูปัจจัยที่ถูกทำลาย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างรวดเร็ว อาทิ เมื่อต้นไม้ถูกลมพายุพัดล้มลงไปหนึ่งต้น ดินที่สมบูรณ์และน้ำที่ชุ่มชื้นจะช่วยให้ต้นไม้ที่อยู่ข้างเคียง เจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้าม หากป่าไม้ถูกทำลายลงไปเป็นบริเวณกว้างอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลายาวนาน จะส่งผลให้ปัจจัยอื่นๆ ที่เหลืออยู่เสื่อมสภาพลงตามไปด้วย กล่าวคือ การทำลายป่าไม้ เป็นการเปิดโล่งของผิวดิน ทำให้ผิวดินถูกอัดแน่นขึ้น ความสามารถในการดูดซับน้ำฝนจึงมีน้อยลง เมื่อดินดูดซับน้ำฝนได้น้อย น้ำฝนที่ตกลงมาส่วนใหญ่จึงเอ่อนองตามผิวดิน และไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งการไหลอย่างรวดเร็วที่ผิวดินนี้ ทำให้เกิดการกัดชะและพัดพาเอาผิวหน้าดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารไปด้วย เมื่อฝนหยุดตก น้ำฝนที่ซึมลงไปในดินน้อย ทำให้ไม่มีน้ำเอื้ออำนวยให้กระบวนการระเหยน้ำ พลังงานจากรังสีดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่จึงเพิ่มความร้อนในดินและอากาศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศจะขยายตัวและรองรับไอน้ำมากขึ้น โอกาสที่ฝนตกจึงมีน้อยลง เป็นวงจรที่เชื่อมโยงและส่งผลกระทบถึงกันทั้งหมด

การดูแลป่าต้นน้ำ จึงมิได้มีความหมายเพียงการดูแลต้นไม้เท่านั้น แต่ถือเป็นการดูแลอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติ ที่คอยปลดปล่อยน้ำให้ใช้อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลดินให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่พักพิงอิงอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่น้อย ทั้งยังเป็นการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิตอีกด้วย ปัจจุบัน จากการศึกษาของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่าประเทศไทยมีป่าต้นน้ำเหลืออยู่เพียงร้อยละ 23.01 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยในภาคเหนือมีพื้นที่ป่าต้นน้ำมากที่สุด ร้อยละ 42.25 ในขณะที่ภาคกลาง-ภาคตะวันตก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอยู่ร้อยละ 23.55, 20.39, 16.60 และ 12.27 ตามลำดับ

รูปภาพ และที่มา :  มูลนิธิไทยรักษ์ป่า

ผู้เข้าชม  15359