มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง

มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง

ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลอยู่ในเขตการปกครองและพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก(อบต.แม่พริก) ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน 485 ครัวเรือน มีราษฎรอาศัยอยู่จริงทั้งตำบล 988 คน มี 1 โรงเรียน 3 วัด 18 วิสาหกิจชุมชน 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน อาจกล่าวได้ว่าเป็นตำบลที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เป็นพื้นที่ ๆ ได้รับผลกระทบภัยพิบัติแล้งต่อเนื่อง จนทำให้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำกินในที่ทำกินแห่งใหม่ และด้วยจำนวนประชากรน้อย จึงเป็นข้อจำกัดเชิงพื้นที่ ๆ ไม่มี อบต.เป็นของตนเอง ต้องไปรวมกับ อบต.แม่พริก ซึ่งเป็นตำบลใหญ่ ก่อให้เกิดข้อจำกัดทางการเมือง และการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม เหลื่อมล้ำมาอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นนวัตกรรมสังคม ที่ก่อให้เกิดการ Disruption ทางสังคมใหม่ ตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบใหม่ (New Social Movements :NSMs) เพิ่มปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมาตั้งแต่อดีต     ด้วยความตะหนักถึงปัญหา และการแก้ปัญหาชุมชนตำบลผาปังอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ.2547 จึงเกิดการรวมตัวของภาคประชาชนตำบลผาปังในพื้นที่และนอกพื้นที่ จัดตั้ง"คณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาชุมชนตำบลผาปัง" เพื่อกำหนดแนวทางให้ชุมชนผาปังก้าวไปถึงขีดความสามารถในการพึ่งตนเองจากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จาก "ทุน" คน"ที่มีความรู้หลากหลายสาขา และทุนสิ่งแวดล้อม(แล้ง) ในตำบลผาปัง เพื่อเปลี่ยน "ภาระ" ให้เป็น "พลัง"ความร่วมมือ เปลี่ยน "หน้าที่" ตามโครงสร้างของภาครัฐให้เป็นสิ่งที่คนตำบลผาปังต้องทำ "น่าทำ" และเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน "กิจกรรม" ให้เป็น "กิจการ" โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ชุมชนตำบลผาปังก้าวไปถึงขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองจากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ในปี พ.ศ.2556 ได้ยกระดับการบริหารจัดการชุมชน จัดตั้งเป็นองค์กรนิติบุคคล ประเภทองค์กรธุรกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม ภายใต้ชื่อ มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง ทะเบียนเลขที่ ลป 68 หมายเลขผู้เสียภาษี 0993000314361 เลขที่ตั้ง 33/3 หมู่ 3 ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain  และห่วงโซ่คุณค่า Values Chain อย่างสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคน พืช และสัตว์ ในตำบลผาปัง มาจนถึงปัจจุบันนี้

มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง

ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลอยู่ในเขตการปกครองและพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก(อบต.แม่พริก) ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน 485 ครัวเรือน มีราษฎรอาศัยอยู่จริงทั้งตำบล 988 คน มี 1 โรงเรียน 3 วัด 18 วิสาหกิจชุมชน 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน อาจกล่าวได้ว่าเป็นตำบลที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เป็นพื้นที่ ๆ ได้รับผลกระทบภัยพิบัติแล้งต่อเนื่อง จนทำให้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำกินในที่ทำกินแห่งใหม่ และด้วยจำนวนประชากรน้อย จึงเป็นข้อจำกัดเชิงพื้นที่ ๆ ไม่มี อบต.เป็นของตนเอง ต้องไปรวมกับ อบต.แม่พริก ซึ่งเป็นตำบลใหญ่ ก่อให้เกิดข้อจำกัดทางการเมือง และการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม เหลื่อมล้ำมาอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นนวัตกรรมสังคม ที่ก่อให้เกิดการ Disruption ทางสังคมใหม่ ตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบใหม่ (New Social Movements :NSMs) เพิ่มปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมาตั้งแต่อดีต     ด้วยความตะหนักถึงปัญหา และการแก้ปัญหาชุมชนตำบลผาปังอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ.2547 จึงเกิดการรวมตัวของภาคประชาชนตำบลผาปังในพื้นที่และนอกพื้นที่ จัดตั้ง"คณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาชุมชนตำบลผาปัง" เพื่อกำหนดแนวทางให้ชุมชนผาปังก้าวไปถึงขีดความสามารถในการพึ่งตนเองจากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จาก "ทุน" คน"ที่มีความรู้หลากหลายสาขา และทุนสิ่งแวดล้อม(แล้ง) ในตำบลผาปัง เพื่อเปลี่ยน "ภาระ" ให้เป็น "พลัง"ความร่วมมือ เปลี่ยน "หน้าที่" ตามโครงสร้างของภาครัฐให้เป็นสิ่งที่คนตำบลผาปังต้องทำ "น่าทำ" และเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน "กิจกรรม" ให้เป็น "กิจการ" โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ชุมชนตำบลผาปังก้าวไปถึงขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองจากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ในปี พ.ศ.2556 ได้ยกระดับการบริหารจัดการชุมชน จัดตั้งเป็นองค์กรนิติบุคคล ประเภทองค์กรธุรกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม ภายใต้ชื่อ มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง ทะเบียนเลขที่ ลป 68 หมายเลขผู้เสียภาษี 0993000314361 เลขที่ตั้ง 33/3 หมู่ 3 ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain  และห่วงโซ่คุณค่า Values Chain อย่างสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคน พืช และสัตว์ ในตำบลผาปัง มาจนถึงปัจจุบันนี้

จุดเริ่มต้น (Beginning Point)

ปี จำนวน(คน) รายได้การประกอบกิจการเพื่อสังคมตำบลผาปัง 2558-2563 รวมทั้งสิ้น(บาท)
โฮมสเตย์ อาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม สื่อสารนำเที่ยว ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก นวัตกรรมพลังงานชุมชน บำรุงสถานที่ท่องเที่ยว ขนส่งและนำเที่ยว
2558         1,850      1,480,250    2,818,701      348,510       277,500       647,500                  -           92,500          925,000      6,589,961
2559         2,219      1,760,254    3,330,584      475,812       332,850       776,650                  -         110,950        1,109,500      7,896,600
2560         1,855      1,484,256    2,791,775      358,125       278,250       649,250                  -           92,750          927,500      6,581,906
2561         2,125      1,780,500    3,198,125      468,547       318,750       743,750         157,805       106,250        1,062,500      7,836,227
2562         2,557      2,485,090    3,848,285      651,528       383,550       894,950      5,565,978       127,850        1,278,500    15,235,731
2563         1,848      1,796,029    2,781,240      470,874       277,200       646,800      7,835,500         92,400          924,000    14,824,043
รวม       12,454      8,990,350  15,987,470   2,302,522     1,868,100     4,358,900    13,559,283       622,700        6,227,000    53,916,325

 

สู่การสร้างสรรค์ (Social Innovation)

 

 

สรุปการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ กิจการเพื่อสังคมตำบลผาปัง จำนวน 485 ครัวเรือน มีส่วนร่วมในการลงทุนการผลิตเกษตร 282 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 58.14 , พบการมีส่วนร่วมในกิจการแปรรูป จำนวนทั้งสิ้น 325 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 67.01 ,พบการมีส่วนร่วมในกิจการส่งเสริมการตลาด 438 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90.31 และพบการมีส่วนร่วมในกิจการบริการ 124 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 25.57

ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในตำบลผาปัง ใช้วิธีอัตราผลตอบแทนทางสังคม SROI เป็นตัวชี้วัดจากการแสดงออกในการดำเนินงานสรุปเพื่อทบทวนสาธารณะตามธรรมนูญชุมชนตำบลผาปัง พ.ศ.2559 การประชุมสามัญประจำปีของมูลนิธิฯ การประชุมประชาคมหมู่บ้าน และการแสดงออกถึงการประเมินผลลัพธ์ (Outcome) ทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งชี้วัดได้จากการประเมินผลการประกอบกิจการชุมชนในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน และการยกระดับกิจการชุมชน เป็นบริษัท วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่แสดงออกถึงผลสำเร็จในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจชุมชน จนได้รับรางวัลนวัตกรรมสังคม และรางวัลไทยแลนด์กรีนเอ็นเนอยี่ อวอร์ด ปี พ.ศ.2559 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบเพื่อสังคม จนได้รับรางวัลสุดยอดตำบลคุณธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ปี 2560  การวัดผลด้านสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการชุมชนสะอาด ปลอดไข้เลือดออก ติดต่อกัน 20 ปี จัดระบบสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า และมีโฉนดชุมชนกว่า 24,451 ไร่ ร่วมกับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ส่งผลให้ได้รับการยอมรับจากองค์กรต่างๆ ในประเทศมาศึกษาดูงานเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2,000 คน/ปี รวมถึงได้รับการยอมรับจากต่างประเทศใช้ผาปังเป็นสถานที่พัฒนานวัตกรรมสังคมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อเมริกัน ติดต่อกัน 18 ปี (ยกเว้น 2 ปีหลังจากโรคระบาดโควิด 19 ปี 2563-2564) และได้รับการยอมรับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมสังคมไทย-ออสเตรเลีย ติดต่อกัน 4 ปี(งดเว้นช่วงโรคระบาด 2 ปี 2563-2564)  จึงสะท้อนข้อมูลอัตราผลตอบแทนทางสังคม SROI ที่สามารถชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคม ที่ผู้มาเยือนตำบลผาปัง ได้แสดงออกถึงความพึงพอใจจากการมีส่วนร่วมในการสื่อสาร (Engagement) พบว่าผู้มาศึกษาดูงานในตำบลผาปังจากองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชนภายในประเทศในภาพรวมทุกกลุ่มเป้าหมายแสดงออกถึงความพึงพอใจร้อยละ 93.91(อ้างอิงข้อมูล ปี 2563) และความพึงพอใจจากการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และท่องเที่ยวชุมชนจากนานาชาติ คิดเป็นร้อยละ 95.14(อ้างอิงข้อมูลปี 2562) และสิ่งที่ทุกกลุ่มเป้าหมายแสดงออกถึงความประทับใจตำบลผาปังมากที่สุดคือ ความสะอาดของชุมชน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความอบอุ่น และความมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สิ่งแวดล้อมปลอดสารเคมี และองค์ความรู้ที่ได้จากการมีส่วนร่วมในการประกอบกิจการชุมชนพึ่งตนเอง เป็นลำดับ   สำหรับข้อเสนอแนะที่ตำบลผาปัง จะต้องปรับปรุงแก้ไข จะเป็นเรื่องระบบการขนส่ง การคมนาคม ป้ายบอกเส้นทาง เป็นต้น

ข้อมูลติดต่อ (Contact)

เบอร์โทร: 054-837-091, 095-692-6126,081-805-9889
Email: tha_kanrapee@hotmail.com ,rangsrith1234@gmail.com
Website: http://มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง
Facebook: วิสาหกิจชุมชนตำบลผาปัง

พร้อมรับการแบ่งปัน (Want to grow)

เงินทุน 2 ล้าน บาท
ซื้อสินค้าและบริการ ระบุประเภทสินค้า/บริการ เทคโนโลยีการผลิตถ่านชีวภาพ
สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย
สถานที่จัดกิจกรรม
ที่ปรึกษา/ผู้เชียวชาญ/วิทยากร/ ในเรื่อง การตลาด
อื่นๆ ปัจจบันมีความร่วมมือกับสำนักวิจัยป่าไม้ กรมป่าไม้
ผู้เข้าชม  8348