ฑีตา

ฑีตา

แบรนด์ ฑีตา (แม่ฑีตา) เริ่มในปีพ.ศ.2535 โดยคุณประไพพันธ์ แดงใจ ในตอนนั้นได้กลับไปที่บ้านเกิด จังหวัดสกลนคร เพื่อดูแลคุณพ่อที่กำลังป่วยและได้พบว่า การทำผ้าย้อมครามของคนเฒ่าคนแก่ได้หายไปจากหมู่บ้าน จึงคิดจะรื้อฟื้นมันขึ้นมาด้วยความรู้สึกไม่อยากให้มันสูญหายไป โดยชวนคุณแม่(ฑีตา จันทร์เพ็งเพ็ญ) มาร่วมฟื้นการทำผ้าย้อมครามขึ้นมา หลังจากนั้น เป็นเวลาร่วม1ปี จึงค้นพบคุณยายผู้รู้ที่เคยทำ และรวม3ปีค้นพบวิธีการย้อมคราม
ฑีตา
แบรนด์ ฑีตา (แม่ฑีตา) เริ่มในปีพ.ศ.2535 โดยคุณประไพพันธ์ แดงใจ ในตอนนั้นได้กลับไปที่บ้านเกิด จังหวัดสกลนคร เพื่อดูแลคุณพ่อที่กำลังป่วยและได้พบว่า การทำผ้าย้อมครามของคนเฒ่าคนแก่ได้หายไปจากหมู่บ้าน จึงคิดจะรื้อฟื้นมันขึ้นมาด้วยความรู้สึกไม่อยากให้มันสูญหายไป โดยชวนคุณแม่(ฑีตา จันทร์เพ็งเพ็ญ) มาร่วมฟื้นการทำผ้าย้อมครามขึ้นมา หลังจากนั้น เป็นเวลาร่วม1ปี จึงค้นพบคุณยายผู้รู้ที่เคยทำ และรวม3ปีค้นพบวิธีการย้อมคราม

จุดเริ่มต้น (Beginning Point)

แบรนด์ ฑีตา (แม่ฑีตา) เริ่มในปีพ.ศ.2535 โดยคุณประไพพันธ์ แดงใจ ในตอนนั้นได้กลับไปที่บ้านเกิด จังหวัดสกลนคร เพื่อดูแลคุณพ่อที่กำลังป่วยและได้พบว่า การทำผ้าย้อมครามของคนเฒ่าคนแก่ได้หายไปจากหมู่บ้าน จึงคิดจะรื้อฟื้นมันขึ้นมาด้วยความรู้สึกไม่อยากให้มันสูญหายไป โดยชวนคุณแม่(ฑีตา จันทร์เพ็งเพ็ญ) มาร่วมฟื้นการทำผ้าย้อมครามขึ้นมา หลังจากนั้น เป็นเวลาร่วม1ปี จึงค้นพบคุณยายผู้รู้ที่เคยทำ และรวม3ปีค้นพบวิธีการย้อมคราม

แรงบันดาลใจ (Inspiration)

การหายสาบสูญกว่า 50 ปี ของวิถีการทำผ้าย้อมครามของคนในหมู่บ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ไม่มีใครสืบทอดวิธีทำไว้เลย เหลือเพียงแต่หม้อดินแตกๆตามใต้ถุนบ้าน ที่มีร่องรอยของสีครามติดอยู่ การกลับคืนมาของลมหายใจของชุมชน ชุมชนที่เหลือแต่คนสูงอายุ คนวัยทำงานย้ายออกไปสู่เมืองใหญ่ ดิ้นรนเพื่อหาปัจจัย เพื่อความอยู่รอด รอยยิ้มและความสุขของคนสูงอายุในชุมชน การมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยของลูกหลาน ความรู้สึกที่ไม่ต้องเป็นภาระของครอบครัวและการกลับคืนมาของศักยภาพฝีมือหัตถกรรมของคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน ความเชื่อมั่นที่จะลงมือทำ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เชื่อหรือถูกทำให้เชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ พิสูจน์ให้เห็นว่ามันเป็นไปได้

สู่การสร้างสรรค์ (Social Innovation)

ใช้สื่อสังคมออนไลน์ พื้นที่สื่อสารของโลกยุคใหม่ เชื่อมต่อกับคนในสังคมเมืองให้รู้จักกับชุมชนเล็กๆที่แม่ฑีตาอาศัยอยู่ ค่อยๆสร้างการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ทัศนคติและความเชื่อของคนในสังคมเมืองที่มีต่อคนในพื้นที่ชนบทและตัวชุมชนชนบท คนในชุมชนเล็กๆถูกมองเห็น เกิดการเชื่อมต่อในทางบวก ใช้การออกแบบของศตวรรษปัจจุบันและอนาคต ในการนำเสนอสินค้าจากวัตถุดิบของคนในชุมชน รวมไปถึนำเสนอภาพของคนในชุมชน วิถีชีวิตของชุมชนด้วยแนวคิดของโลกยุคใหม่ ใช้การสร้างแบรนด์ ตามหลักของการทำธุรกิจสมัยใหม่ ภาพลักษณ์ตัวตนความเป็นแฟชั่น สร้างตัวตนที่จับต้องได้และไม่หลงยุคให้กับภาพลักษณ์วัตถุดิบของชุมชน ใช้การถ่ายภาพที่เข้ากับโลกสมัยใหม่ ที่คนยุคปัจจุบันเข้าใจและอิน เป็นตัวกลางในการสื่อสารตัวสินค้าระหว่างผู้รับสารในเมืองกับวัตถุดิบของคนในชุมชน

สู่การเปลี่ยนแปลง (Social Impact)

รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นของคนในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของคนในชุมชน การกลับมายังชุมชนของคนวัยทำงาน ความมั่นใจในการยังชีพในชุมชน โดยที่ไม่ต้องออกไปมีชีวิตในฐานะพลเมืองชั้นสามในสังคมเมืองใหญ่ สิ่งแวดล้อมในชุมชนค่อยๆกลับมาฟื้นฟู กลับมาสมดุลทั้งดินในพื้นที่เกษตรของคนในชุมชน และน้ำที่ได้รับการปรับเติมออกซิเจน ความเชื่อเก่าๆที่เคยมีในทางลบค่อยๆหายไป คุณค่าของภูมิปัญญาเก่าๆกลับมาได้รับการยอมรับในฐานะเครื่องนุ่งห่มของโลกอนาคต

ข้อมูลติดต่อ (Contact)

เบอร์โทร:
Email: MaeTeeta@setsocialimpact.com
Website: http://
Facebook:

พร้อมรับการแบ่งปัน (Want to grow)

เงินทุน
ซื้อสินค้าและบริการ ระบุประเภทสินค้า/บริการ
สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย
สถานที่จัดกิจกรรม
ที่ปรึกษา/ผู้เชียวชาญ/วิทยากร/ ในเรื่อง
อื่นๆ
ผู้เข้าชม  3753