Haze Free Social Enterprise วิสาหกิจเพื่อสังคมไร้ควัน เริ่มต้นจากงานวิจัยใน โครงการวิจัย “ประเทศไทยไร้หมอกควัน”
ชุดโครงการย่อยที่1 “การปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินและการออกแบบห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรเพื่อลดการเกิดหมอกควัน”
จากงานวิจัย พบว่า พื้นที่เผาไหม้ 3-9 ล้านไร่ ผู้ป่วยจากฝุ่นควันใน 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ปีละ 0.3 ล้านคน นักท่องเที่ยวลดลง 6 ล้านคนต่อปี ขาดรายได้ปีละ 10,000 ล้านบาท CSR “ปลูกป่า ไม่ได้ป่า”
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรโดยไม่พึ่งพาการเผาซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้นำร่องในพื้นที่จังหวัดน่านและพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่โดยมีการนำกระบวนการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System : PGS) มาเป็นกรอบในการดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินและทำการเกษตรแบบไม่พึ่งพาไฟโดยพีจีเอสเป็นการรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์
ซึ่ง Haze Free Social Enterprise มีเป้าหมาย
1. สินค้า Organic farm : ส่งเสริมการความรู้ให้เกษตรกรทำการเกษตรอินทรีย์ และรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินและการออกแบบห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร เพื่อลดการเกิดหมอกควัน
2. บริการ Reforestation : กิจกรรมปลูกป่าบนพื้นที่ทำกินเพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ และใช้กลไกการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อขอรับรอง Carbon Credit ตามรูปแบบของ T-VER Premium หรือ Gold Standard เพื่อเป็นตัวชี้วัดการเติบโตของต้นไม้ตลอดช่วงระยะเวลาโครงการ (10 ปี) จากการร่วมสนับสนุนโครงการ 65,000 บาท/ไร่ โดยผู้สนับสนุนจะได้รับ Carbon Credit ในอัตราไร่ละ 1 ตัน/ปี เป็นระยะเวลา 10 ปี
พื้นที่รองรับการปลูก (update ปี 2567)
เกษตรกร 1,000 ครอบครัวมีรายได้ ไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท/ไร่/ปี จากการเพาะปลูกอาหารปลอดภัย พื้นที่ผลิตอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น 3,000 ไร่
1.Haze Free Social Enterprise เติบโต มีกำไรที่จะสามารถนำไปขยายผล ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่การเกษตรอื่น นับตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
2.พื้นที่เผาไหม้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่สีเขียว 10,000 ไร่ เพิ่มการกักเก็บคาร์บอนได้ 10,000 ตันต่อปี และลดฝุ่น (PM 2.5) ได้ 21 ตันต่อปี