มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง

การผลิตถ่านชีวภาพไบโอชาร์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตำบลผาปัง

การผลิตถ่านชีวภาพไบโอชาร์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตำบลผาปัง
ประเภทโครงการ :
ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
วันที่เริ่ม-สิ้นสุดโครงการ :
15/01/2021 - 31/07/2021
สถานที่จัดโครงการ :
-
ตำบล/แขวง :
ผาปัง
อำเภอ/เขต :
แม่พริก
จังหวัด :
ลำปาง
รายละเอียดโครงการ :
”ถ่านไบโอชาร์ BIOCHAR” ที่เกิดจากกระบวนการแยกสลายด้วยพลังงานความร้อน ซึ่งมีสองวิธีหลักๆ คือการแยกสลาย “อย่างเร็ว” และ”อย่างช้า” การผลิตถ่านชีวภาพด้วยวิธีการแยกสลาย”อย่างช้า”ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 300-500 องศาเซลเซียส จะได้ผลผลิตของ”ถ่านชีวภาพ Biochar คุณภาพที่มีธาตุอาหารของพืชคงค้างอยู่มากกว่า 50%” เป็นถ่านที่ไม่บริสุทธิ์ มี'ทาร์' (Tar) ตกค้างเหลืออยู่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีรูพรุนการดูดซับความชื้นน้อย มีความเป็น”กรด”มาก (พืชนั้นชอบ แต่อันตรายต่อมนุษย์) ซึ่งประชาชนในชนบทนั้นมีความคุ้นเคยกับการเผาฟางข้าว หรือเศษวัตถุการเกษตร พืชไร่ ที่ทำให้พืชผลการเกษตรที่งอกงามนั่นเอง แต่มีคุณสมบัติหรือความแตกต่างจากวิธีการแยกสลาย”อย่างเร็ว”ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 700-1,000 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผลผลิตที่ได้จะเป็น “น้ำมันชีวภาพ (bio-oil) 60% แก๊สสังเคราะห์(syngas) 20% และถ่านชีวภาพ 20%” เป็นถ่านที่มีธาตุอาหารของพืชเหลือน้อย มีคุณสมบัติในความเป็น”ด่าง”มาก ซึ่งเป็นประโยชน์ และไม่มีอันตรายต่อคน สัตว์ แต่ให้คุณค่าทางอาหารแก่พืชนั้นน้อย แต่มีพื้นที่ดูดซับ(Surface Area) สามารถดูดซับน้ำ และความชื้นของอากาศ ได้สูงถึง 1,200 ตารางเมตร/กรัม(ถ่านไม้ไผ่ 1,800 ตารางเมตร/กรัม) ซึ่งเป็นถ่านที่อุดมไปด้วยคาร์บอน ซิลิกอน แคลเซียม โปแตสเซียม และโซเดียม จึงมีประสิทธิภาพสูงในการนำถ่านชีวภาพชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ผสมผสาน เพื่อบริหารจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย และจุลินทรีย์ หรือธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สอดคล้องกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการใช้ประโยชน์การเกษตรหมุนเวียนในโลกอนาคตที่สังคมต้องการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการใช้น้ำ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน แต่เพิ่มผลผลิตการเกษตรเชิงนวัตกรรมในพื้นที่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดห่วงโซ่คุณค่า Value Chain และมีความเกี่ยวเนื่องกับการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบ ภายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) โดยเริ่มบริหารจัดการตั้งแต่การรับวัตถุดิบกิ่งไม้ ใบไม้ เศษวัตถุดิบการเกษตร เศษวัตถุดิบการก่อสร้าง ขยะแห้ง เข้าสู่กระบวนการแปลงสภาพ โดยการบดละเอียด อบแห้ง แล้วนำมาอบสุญญากาศที่ออกซิเจนน้อย ซึ่งเป็นกรรมวิธีการผลิตที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และได้ผลผลิตถ่านไบโอชาร์ และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต 3 ด้าน (1) ด้านการผลิตดินเกษตร หรือผลิตถ่านชีวภาพบำรุงดินไบโอชาร์(Biochar) ซึ่งเกิดจากกระบวนการอบสุญญากาศที่อุณภูมิต่ำ-สูงที่ออกซิเจนน้อย และกระทบสิ่งแวดล้อมน้อย ซึ่งเป็นการแปรรูป”เศษไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ เพื่อให้คงเหลือแต่”คาร์บอน”ที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารของพืช มีรูพรุนเพื่อการดูดซับน้ำ ดูดซับความชุ่มชื้น ดูดซับธาตุอาหารในดิน กักเก็บจุลินทรีย์ และถ่านจะทำหน้าที่ในการปลดปล่อยธาตุอาหาร ปุ๋ย และน้ำให้พืชตามความต้องการ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการจัดการโดยธรรมชาติ Organics ที่เป็นประโยชน์ต่อผลผลิตของ”พืช”ให้เจริญเติบโตงอกงาม โดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีแต่อย่างไร ซึ่งเป็นคำตอบให้เกษตรกรเข้าใจว่าภูมิปัญญาการเผาเศษวัตถุดิบการเกษตรแล้วปลูกพืชเกษตรในหลังฤดูเก็บเกี่ยว และทดแทนดินปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในอดีตกลับคืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมหมุนเวียนให้ใช้ประโยชน์นวัตกรรมสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป (2) ด้านการผลิตเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวลก๊าชสังเคราะห์ Syngas ทดแทนการใช้ LPG และน้ำมันเชื้อเพลิงผลิตพลังงานภาคความร้อน และผลิตไฟฟ้าในเครื่องกลเกษตร จนกระทั่งกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูปเป็นถ่านเชื้อเพลิงพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงพลังงานในเครื่องกลการเกษตร และพลังงานครัวเรือน (3) ด้านการนำถ่านไบโอชาร์ ยกระดับการผลิตถ่านกัมมันต์ Activated Carbon ผลิตถ่านประจุลบที่มีผิวสัมผัสในการดูซับสูง ใช้ประโยชน์กรองน้ำ ถ่านดูดซับกลิ่นโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก เคมี โรงฆ่าสัตว์ ถ่านบำบัดน้ำเสีย ถ่านเวชสำอาง(สบู่ ยาสีฟัน บำรุงผิว ขัดผิว) ถ่านอุตสาหกรรมผลิตหมึกพิมพ์ โรงย้อมผ้า และถ่านยารักษาโรค



ความสำเร็จในการแก้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม ของโครงการนี้


ผู้เข้าชม  653