มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง(วิสาหกิจเพื่อสังคม)

ปรับปรุง เพิ่มเติมแผนฟื้นฟู อนุรักษ์ จัดการ และใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าชุมชน มาตรา 52(2) มาตรฐาน FSC

ปรับปรุง เพิ่มเติมแผนฟื้นฟู อนุรักษ์ จัดการ และใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าชุมชน มาตรา 52(2) มาตรฐาน FSC
ประเภทโครงการ :
ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
วันที่เริ่ม-สิ้นสุดโครงการ :
01/05/2025 - 30/04/2026
สถานที่จัดโครงการ :
-
ตำบล/แขวง :
ผาปัง
อำเภอ/เขต :
แม่พริก
จังหวัด :
ลำปาง
รายละเอียดโครงการ :
ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 82 ตารางกิโลเมตร 51,250 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 19,268 ไร่ พื้นที่ป่าชุมชน 24,520 ไร่ (พื้นที่ใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ 10,500 ไร่) พื้นที่กรรมสิทธิ์เกษตรชุมชน 4,687 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 1,775 ไร่ ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน 485 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งตำบลที่อาศัยอยู่จริง 980 คน เป็นตำบลเล็กๆ ไม่มี อบต.เป็นของตนเอง ต้องไปรวมกับท้องถิ่นตำบลแม่พริก ซึ่งห่างไกลจากตำบลผาปัง 25 กิโลเมตร จึงส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ด้อยโอกาส การเข้าถึงการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน แต่ในทาง “สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ”นั้น ได้มีจุดเด่น ที่เป็นจุดแข็งของชุมชน คือ “คน” ในพื้นที่มีทักษะความรู้ มีวิถีวัฒนธรรมชุมชนเข้มแข็ง สังคม สิ่งแวดล้อมดี จึงนับเป็น “โอกาส” ในการขับเคลื่อน “ทุน” คนที่มีศักยภาพในท้องถิ่น ไปขับเคลื่อน “ทุน” สิ่งแวดล้อม

ขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมคาร์บอนต่ำเชิงพื้นที่เกษตร และป่าไม้ ที่จำเป็นต้องมีการปรับแผนฟื้นฟู อนุรักษ์ จัดการ และใช้ประโยชน์ อย่างสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม และความสมดุลทางธรรมชาติ รองรับ รับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นธรรม(Just Energy Transition) ให้ก้าวไปถึงกิจการเพื่อสังคม ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต(Credit Carbon) คาร์บอนฟุตปริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon footprint Production : CFP)  และการกำจัด กักเก็บคาร์บอนไบโอชาร์(Biochar) ใต้ดิน หรือคาร์บอนรีมูฟวอล CARBON DIOXIDE REMOVAL (CDR) ที่สามารถแก้ปัญหาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แก้ไขวิกฤตหมอกควัน ไฟป่า PM 2.5 ที่จะนำมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ บริการ จัดการ กำกับ กักเก็บ และชดเชยคาร์บอน(Carbon Offset) ที่สามารถนำมาเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC/EUDR มีการทวนสอบ(Verify) ตั้งแต่แหล่งที่มาของวัสดุ เศษวัสดุการเกษตร ขยะ ของเสียชีวมวล อย่างมีมาตรฐาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จในการขับเคลื่อนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน “Net Zero” หรือ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (Net zero emissions) อย่างถูกต้อง และเป็นธรรม



ความสำเร็จในการแก้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม ของโครงการนี้


ผู้เข้าชม  15