มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง(วิสาหกิจเพื่อสังคม)

สาธิต และพัฒนาต้นแบบโมเดลธุรกิจปิดวงจร (Closed loop business) ด้วยพลังงานหมุนเวียนจากเกษตรมูลค่าสูง (Waste to Wealth) ภายใต้แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด “ลำปางเมืองไผ่ และไม้เศรษฐกิจชุมชนคาร์บอนต่ำ” PPPs โมเดล

สาธิต และพัฒนาต้นแบบโมเดลธุรกิจปิดวงจร (Closed loop business)  ด้วยพลังงานหมุนเวียนจากเกษตรมูลค่าสูง (Waste to Wealth) ภายใต้แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด “ลำปางเมืองไผ่ และไม้เศรษฐกิจชุมชนคาร์บอนต่ำ” PPPs โมเดล
ประเภทโครงการ :
ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
วันที่เริ่ม-สิ้นสุดโครงการ :
01/05/2025 - 30/04/2027
สถานที่จัดโครงการ :
-
ตำบล/แขวง :
ผาปัง
อำเภอ/เขต :
แม่พริก
จังหวัด :
ลำปาง
รายละเอียดโครงการ :
ตำบลผาปังมีจุดเด่น ที่เป็นจุดแข็งของชุมชน คือ “คน” ในพื้นที่มีทักษะความรู้ มีวิถีวัฒนธรรมชุมชนเข้มแข็ง สังคม สิ่งแวดล้อมดี จึงนับเป็น “โอกาส” ในการขับเคลื่อน “ทุน” คนที่มีศักยภาพในท้องถิ่น ไปขับเคลื่อน “ทุน” สิ่งแวดล้อมที่ได้รับการอนุญาตมาตรฐาน FSC ตามแผนฟื้นฟู อนุรักษ์ จัดการ และการใช้ประโยชน์หมุนเวียน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำปาง "เมืองไผ่ และไม้เศรษฐกิจชุมชน" ประจำปี 2566-2570 และ“ทุน” สนับสนุนเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระบวนการสำเร็จในการดำเนินโครงการ ศึกษา พัฒนานวัตกรรม และสาธิตต้นแบบ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นชุมชน เพื่อเป็นพลังงานชีวมวลสังเคราะห์ ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อแก้ไขวิกฤตพลังงานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนหมุนเวียนแบบองค์รวม Bio-Circular-Green Economy : BCG” ของกระทรวงพลังงาน ที่มีมาตรฐาน SOP มายกระดับขับเคลื่อนสาธิต และพัฒนาต้นแบบโมเดลธุรกิจปิดวงจร (Closed loop business) ด้วยพลังงานหมุนเวียนจากเกษตรมูลค่าสูง (Waste to Wealth) ภายใต้แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด “ลำปางเมืองไผ่ และไม้เศรษฐกิจชุมชนคาร์บอนต่ำ” PPPs โมเดล ร่วมกับภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ ที่ก้าวไปถึงขีดความสามารถในการแข่ง ที่เชื่อมโยงเชื่อมโยงเพื่อส่งต่อห่วงโซ่ทางธุรกิจว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอน ของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ช่วย"ลด" และ "ชดเชย" (lower & offset) และสามารถเชื่อมโยงความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net zero emissions) ที่ได้รับการยอมรับมาตรฐานสากล

  1. ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ได้ยกระดับการศึกษา พัฒนานวัตกรรม และสาธิตต้นแบบ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นชุมชน เพื่อเป็นพลังงานชีวมวลสังเคราะห์ ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อแก้ไขวิกฤตพลังงานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนหมุนเวียนแบบองค์รวม Bio-Circular-Green Economy : BCG” จากการสนับสนุนของ สกทอ.ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มาขยายผลต่อยอด   ขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมพลังงานคาร์บอนต่ำเชิงพื้นที่ระดับตำบล”  เป็นพื้นที่สังคมที่ช่วย"ลด" และ "ชดเชย" (lower & offset) การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยลดการเผาวัสดุการเกษตร ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก และการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ช่วยกำจัด และกักเก็บคาร์บอนเหนือดิน-ใต้ดิน ด้วยการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ : เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนวัตกรรมสังคม กระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา “วิกฤต” สิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หมอกควันไฟป่า หมอกควัน PM 2.5  ให้เป็นเป็น “โอกาส” ในฟื้นฟู อนุรักษ์ จัดการ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจาก Waste to Wealth ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ช่วยลด และชดเชยการใช้เชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิล ที่ปรับตัว รับมือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยไม่สร้างภาระ และผลกระทบให้หน่วยงานภาครัฐในอนาคตอย่างยั่งยืน
  3. ด้านสังคม : ยกระดับ เพิ่มศักยภาพ ทักษะความรู้ ความสามารถ การใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรมพลังงาน “ช่างชุมชน ” ที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม กระบวนการ พึ่งพาตนเอง โดยไม่สร้างภาระให้หน่วยงานภาครัฐในอนาคต อย่างยั่งยื
  4. ด้านเศรษฐกิจ : สามารถยกระดับ เชื่อมโยง ส่งต่อ มูลค่าเพิ่มจาก Waste to Wealth ที่เป็นห่วงโซ่คุณค่า(Values Chain) สร้างธุรกิจใหม่ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวชุมชนคาร์บอนต่ำ ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ให้ก้าวไปถึงขีดความสามารถในการแข่งขันที่เท่าเทียม อย่างเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม(Just Energy Transition)
  5. โดยสรุปได้ต้นแบบโมเดล(Model)  กระบวนการขับเคลื่อนวัตกรรมสังคมพลังงานคาร์บอนต่ำเชิงพื้นที่ระดับชุมชน ที่ช่วย"ลด" และ "ชดเชย" (lower & offset) การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการเผาวัสดุการเกษตร ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก และการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่สามารถเชื่อมโยงความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net zero emissions) อย่างเข้าถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม(Just Energy Transition) ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมสังคมพลังงาน ที่ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่กระบวนการฟื้นฟู การจัดการ การกำจัด กักเก็บ การใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ ที่สามารถส่งต่อเป็นห่วงโซ่คุณค่า ที่สามารถนำไปขยายผลยกระดับ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน PPPs หรือ Public-Private Partnerships ที่เชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า(Values Chain) ทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พลังงาน เกษตรชุมชน ปศุสัตว์ เวชสำอาง สิ่งทอ ก่อสร้าง และท่องเที่ยวชุมชนคาร์บอนต่ำ ภายใต้มาตรฐานการยอมรับในการซื้อขายของ“ตลาดคาร์บอน” (Carbon market) ทั้งในประเทศไทย และนานาประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs)

ผู้เข้าชม  20