บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

โครงการในชุมชนที่มีสถานีฐานของเอไอเอสตั้งอยู่ (Direct Community)

โครงการในชุมชนที่มีสถานีฐานของเอไอเอสตั้งอยู่ (Direct Community)
ประเภทโครงการ :
วันที่เริ่ม-สิ้นสุดโครงการ :
01/01/1970 - 01/01/1970
สถานที่จัดโครงการ :
-
ตำบล/แขวง :
-
อำเภอ/เขต :
-
จังหวัด :
-
รายละเอียดโครงการ :
โครงการในชุมชนที่มีสถานีฐานของเอไอเอสตั้งอยู่ (Direct Community) 1.การส่งต่อคุณค่าจากสถานฐานสู่ความปลอดภัย และความอุ่นใจของชุมชน ด้วยเล็งเห็นว่าสถานฐานซึงต้องมีระบบไฟฟ้าหลักและระบบไฟฟ้าสำรองเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับสถานฐานอย่างต่อเนื่องสามารถนำมาสร้างคุณค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนได้ เราจึงทำการศึกษาและริเริ่มโครงการ “อุ่นใจ ไฟริมทาง” ซึงทีมงานวิศวกรและชุมชนสัมพันธ์ได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่ที่มีสถานีฐานของเราไปตั้งอยู่หรือกำลังจะตั้งสถานีฐานใหม่แล้วไม่มีแสงสว่างหรือมีแสงสว่างไม่เพียงพออันอาจส่งผลถึงความปลอดภัยในการสัญจรเข้าออกของคนในชุมชนและเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม เราก็จะไปติดตั้งเสาไฟฟ้าพร้อมโคมไฟเปิดปิดอัตโนมัติ โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากสถานีฐานเป็นตัวจ่ายพลังงาน โดยในยามที่ไฟฟ้าของชาวบ้านดับลง โคมไฟของเอไอเอสก็ยังสามารถทำงานได้จากการที่เราใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำรองในสถานีฐาน ทำให้ชาวบ้านสามารถมั่นใจความปลอดภัยได้ 2.จากจุดแข็งในการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมสื่อสารสู่นวัตกรรมที่เปิดโอกาสให้ชุมชนห่างไกล เข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น จากการลงพื้นที่เพื่อวางโครงข่ายทั่วประเทศของทีมงานวิศวกร และการทำงานด้านชุมชนสัมพันธ์ของทีมงานเอไอเอส เราพบว่า นอกจากปัญหาการเข้าถึงการสื่อสารของคนในชุมชนที่ยังไม่ทั่วถึงแล้ว ยังพบปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดกับคนไทยในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น คือจำนวนผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเอ็นซีดี (Non-Communicable Diseases : NCDs) ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต มักจะมีผลต่อการดำเนินชีวิตการงาน คุณภาพชีวิต และกำลังกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก โดยจากรายงานในปี 2552พบคนไทยป่วยด้วยโรคเอ็นซีดี ถึง 14 ล้านคนและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในทุกปี และเสียชีวิตมากกว่า 3 แสนคน เราจึงเห็นความสำคัญต่องานสาธารณสุขชุมชน ที่จะเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้และส่งเสริมให้คน ในชุมชนมีสุขภาพที่ดีปฏิบัติตนและดูแลตนเองอย่าง ถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัย โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานบริการสาธารณสุขปฐมภูมิที่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด เน้นการทำงานเชิงรุกและการป้องกันโรคเน้นการดูแลสุขภาพองค์รวม จัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม มุ่งจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพพื้นที่บริการระดับตำบลจึงเป็นด่านแรกและพื้นฐานสำคัญโดยเฉพาะเป็นการให้บริการแก่คนยากจนและ ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ •แอพพลิเคชั่น “อสม. ออนไลน์” นวัตกรรมทางสังคมที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาโรคขั้นพื้นฐานได้อย่างทันท่วงทีจากการที่เราได้ร่วมทำงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทำให้พบว่ารพ.สต. มีขอบเขตการดำเนินงานบริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพการควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยการมีส่วนร่วมอย่างเขม้ แข็งในการดำเนินการของประชาชน ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ให้สามารถร่วมกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน ขอบเขตพื้นที่ในการดูแลรับผิดชอบของ รพ.สต. หนึ่งๆ นั้น มีบริเวณกว้างขวางและส่วนใหญ่ครอบคลุมทั้งตำบล ซึ่งจะต้องอาศัยเครือข่ายอาสาสมัคร สาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน(อสม.) เป็นกำลังสำคัญในการช่วยให้การดำเนินการตามภารกิจของ รพ.สต. ประสบความสำเร็จเพื่อช่วยดูแลรับผิดชอบงานสาธารณสุขของคนในชุมชนประมาณ 10-15 หลังคาเรือน โดยหน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ และทีมวิศวกรที่อยู่ในพื้นที่ได้ร่วมกันฝึกสอนการใช้งาน อสม. ออนไลน์ให้แก่ อสม. และได้ผลตอบรับว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่ายและมีประโยชน์ ต่อการทำงานของ รพ.สต.และ อสม. เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเราได้ขยายผลไปยัง รพ.สต. ที่มีความต้องการแล้ว จำนวน 25 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนที่จะขยายต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งหวังให้งานสาธารณสุขชุมชนเกิดผลลัพธ์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง •ลานสุขภาพเอไอเอส เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชนการจัดสร้างลานสุขภาพที่ประกอบด้วยเครื่องออกกำลังกายหลายชนิด เช่น จักรยานนั่งปั่นแนวนอน เครื่องบริหารกล้ามเนื้อแขน เครื่องบริหารเอวและออกกำลังขาแบบย่ำสลับ เครื่องเดินสลับแนวราบ ลานเดินนวดเท้า พร้อมคู่มือการใช้เครื่องออกกำลังกายและแบบบันทึกการออกกำลังกายตลอดจนแบบบันทึกประวัติด้านสุขภาพส่วนบุคคลไว้ ณ ที่ทำการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ไว้ใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เหมาะสม และต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งเราได้เริมมดำเนินการจัดสร้างลานสุขภาพตั้งแต่ต้นปี 2558 จนถึงปัจจุบันมีลานสุขภาพเอไอเอส ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวม 8 แห่ง


ผู้เข้าชม  1058