ศูนย์ธุรกิจเพื่อสังคมวานีตา

วานีตา เป็นภาษามลายู แปลว่าผู้หญิง จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 12 ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดคือผู้หญิงและเด็ก ผู้หญิงกว่า 2,800 คนต้องสูญเสียสามีและกลายเป็นหม้าย ในขณะที่เด็กอีกกว่า 8,000 คนต้องกลายเป็นกำพร้า ผู้หญิงเหล่านี้ต้องพลิกบทบาทตัวเองจากแม่บ้านขึ้นมาเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจที่ต้องหารายได้มาเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวและต้องแบกภาระหน้าที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ในขณะที่กลุ่มผู้หญิงเองก็ขาดแคลนทั้งทุนทรัพย์ ทุนความรู้ และไม่สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ได้

ศูนย์ธุรกิจเพื่อสังคมวานีตาจึงเกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์การอ็อกแฟมและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อช่วยเพิ่มพูนศักยภาพของกลุ่มอาชีพผู้หญิง และเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่และภาคส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการสนับสนุน ช่วยสร้างพื้นที่ในการสื่อสารที่สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราววิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ ความเข้มแข็งของกลุ่มผู้หญิง และความมุมานะที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นท่ามกลางภาวะความไม่สงบในพื้นที่ รวมถึงการนำเสนอสินค้าของกลุ่มอาชีพผู้หญิงที่มีคุณภาพและเอกลักษณ์ของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

ศูนย์ธุรกิจเพื่อสังคมวานีตามีเป้าหมายในการสร้างประโยชน์ทั้งในมิติทางสังคมและทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสภาวะแวดล้อมทางสังคมให้ดีขึ้น เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการสนับสนุนให้ธุรกิจท้องถิ่นสามารถเติบโตไปพร้อมกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกแรงบันดาลใจที่สำคัญคือเราต้องการเห็นผู้หญิงเติบโตและมีความเข้มแข็งเศรษฐกิจ สามารถบริหารจัดการชีวิตตัวเองและดูแลครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เราเชื่อว่าพลังและความเข้มแข็งของผู้หญิงจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้แก่พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างแน่นอน

- สร้างศักยภาพของกลุ่มอาชีพผู้หญิงและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ อาทิ การสร้างเครือข่ายที่ปรึกษาจากภาคเมือง (National’s Mentor Network)
- เชื่อมต่อสินค้าของกลุ่มอาชีพที่มีคุณภาพและเอกลักษณ์กับตลาดที่ใหญ่ขึ้น ผ่านทางผ่านเว็บไซต์ www.wanita.in.th และทาง Facebook: www.facebook.com/wanitase เพื่อให้คนนอกพื้นที่ได้เข้าใจและรับรู้เรื่องราวของคนในพื้นที่ และเป็นพื้นที่ในการโปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงตลาดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ที่รวบรวมองค์ความรู้เพื่อสร้างเสริมศักยภาพด้านการเป็นผู้นำและด้านธุรกิจเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยังยืนต่อไป

งานหัตถกรรม

รายการอาหาร

เครื่องจักรสาน

- กลุ่มมะกรูดหวาน
- กลุ่มกระเป๋าผ้าทอญี่ปุ่น LOVE ME
- กลุ่ม SAYANG
- กลุ่มกระเป๋าผ้าปาเต๊ะชุมชนโรงอ่าง
   ดูรายละเอียด
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนถือโป๊ะตราดอกแก้ว
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกำปงดาลำสัมพันธ์
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตโรตีสำเร็จรูปแช่แข็ง
- กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ทุเรียน
  ดูรายละเอียด
- กลุ่มสตรีบ้านพ่อเทพ
- กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านทุ่ง
- กลุ่มจักสานเสื่อกระจูด

   ดูรายละเอียด

เสื้อผ้า

 

 

- กลุ่มแม่บ้านเกษตรนุรุลฮีมาน
- กลุ่มนูรุลฮิญาบ
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรนุรุลฮีมาน
  ดูรายละเอียด

- ผู้หญิงมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น สามารถบริหารจัดการชีวิตตัวเอง ดูแลครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
- ผู้หญิงมีภาวะผู้นำ สามารถพัฒนาธุรกิจและมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ ในพื้นที่ได้
- เศรษฐกิจในชุมชนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น ครัวเรือนและชุมชนมีเงินไหลเวียนจากการขายสินค้าและขยายตลาด ส่งผลให้คนในพื้นที่มีงานทำและไม่ย้ายถิ่นฐานเพื่อออกหางานทำนอกพื้นที่
- ผู้หญิงสามารถสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ได้ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพอันเป็นรากฐานของปัญหาในพื้นที่

ช่องทางการจัดจำหน่าย ความต้องการอื่นๆ ความรู้

ผู้เข้าชม  400