Climate Care Trick&Tip ชวนลดการใช้พลาสติก แบบครั้งเดียวทิ้ง

 

ลดการใช้พลาสติก แบบครั้งเดียวทิ้ง

      จากข้อมูลล่าสุด ปี 2566 ประเทศไทยใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมากถึง 3.03 ล้านตัน ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 11.25 เราควรช่วยกัลดใช้พลาสติก หากจำเป็นควรมีการนำกลับมาใช้ซ้ำ และมีการคัดแยก เพื่อนำสู่กระบวนการรีไซเคิล เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ต่อไป
โดยพลาสติกสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. พลาสติกประเภท เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting)

          พลาสติกอร์ประเภทนี้หลอมเหลวได้ในการขึ้นรูปครั้งแรกเท่านั้น ไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ โพลิเม เช่น เบคเคอไลต์ และ เมลามีน ที่ใช้ผลิตภาชนะบรรจุอาหารประเภทถ้วย จาน เมลามีน หรือ ลังพลาสติกที่ใส่ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

  1. พลาสติกประเภท เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

          พลาสติกประเภทนี้ สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ซึ่งจะมีสัญลักษณ์หรือหมายเลขกำกับอยู่ที่ตัวผลิตภัณฑ์ ดังนี้

สัญลักษณ์หมายเลข คือ พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือ เพ็ท (PET หรือ PETE) เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช และขวดใสต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งพลาสติกประเภทนี้สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อ และใยสังเคราะห์สำหรับใช้ในหมอนได้ เป็นต้น

สัญลักษณ์หมายเลข คือ พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE) ใช้ทำขวดนม บรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น พลาสติกประเภทนี้สามารถนำมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ไม้เทียม เป็นต้น

สัญลักษณ์หมายเลข คือ พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่เรียกว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร เป็นต้น พลาสติกประเภทนี้สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปา หรือ กรวยจราจร ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เป็นต้น

สัญลักษณ์หมายเลข คือ พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) หรือ แอลดีพีอี (LDPE) ใช้ทำฟิล์มสำหรับห่ออาหารและห่อของ ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร โดยพลาสติกประเภทนี้สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น

สัญลักษณ์หมายเลข คือ พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ พีพี (PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา พลาสติกประเภทนี้สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ชิ้นส่วนรถยนต์ ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น

สัญลักษณ์หมายเลข 6  คือ พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือเรียกย่อว่า พีเอส (PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่าง ๆ เช่น โฟมใส่อาหาร เป็นต้น พลาสติกประเภทนี้นำมารีไซเคิลเป็น ไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ เป็นต้น

สัญลักษณ์หมายเลข คือ พลาสติกประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีระบุชื่อเฉพาะ โดยไม่ใช่พลาสติกใน 6 ประเภท แต่เป็นพลาสติกที่นำมารีไซเคิลหลอมใหม่ได้ ใช้ทำเป็นถังน้ำ เป็นต้น โดยพลาสติกประเภทนี้สามารถนำมารีไซเคิลเป็น แกลลอน ถังพลาสติก เป็นต้น

   จากข้อมูลข้างต้น เห็นได้ว่า พลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ที่มีสัญลักษณ์หมายเลข 1 ถึง 7 กำกับอยู่นั้น สามารถนำมารีไซเคิลได้ทั้งสิ้น

 


“เริ่มลดโลกร้อนจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำได้ทุกวัน”  Trick (เคล็ดลับเด็ดๆ)  |  Tip (คำแนะนำดีๆ ที่ทำตามได้ง่ายๆ)
มาร่วมกันลงมือช่วยโลกของเราลดก๊าซเรือนกระจกและเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการ Climate Care Platform

ได้ที่ https://climatecare.setsocialimpact.com
_____

อ้างอิง

  • กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการสร้างวินัย สู่การจัดการขยะที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ
  • Juniper, T. (2018). How we’re F***ing up our planet. (First Published). New York: DK Publishing.
  • https://www.greenpeace.org/thailand/explore/resist/plastic/harm-plastic/
  • ดร. ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา, ภาวินี พงศ์พันธ์พฤทธิ์, ดร.กริชชาติ ว่องไวลิขิต และ ศาสตราจารย์ ดร. พิสุทธิ์ เพียรมนกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). ขยะพลาสติก... เราจะทำยังไงดี? : แบน ทดแทน หรือ ปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ.

     

=

 

ผู้เข้าชม  38