TRAWELL (ทราเวลล์)

TRAWELL (ทราเวลล์)

กลุ่มเยาวชนที่มีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชนเมืองด้วยการท่องเที่ยว
TRAWELL (ทราเวลล์)
กลุ่มเยาวชนที่มีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชนเมืองด้วยการท่องเที่ยว

จุดเริ่มต้น (Beginning Point)

ทีม TRAWELL เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชนเมืองด้วยการท่องเที่ยว ได้เข้าร่วมการแข่งขันเสนอแผนธุรกิจเพื่อสังคมและได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการประชุมเยาวชนระดับนานาชาติ One Young World Summit 2015 และได้รับการสนับสนุนจากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ กรุงเทพมหานคร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ(สกส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

แรงบันดาลใจ (Inspiration)

ประเทศไทยกำลังสูญเสียสมบัติล้ำค่าของชาตินั่นคือ “ศิลปวัฒนธรรมไทย” ที่กำเนิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น มีชุมชนมากมายในเขตเมืองที่เคยเต็มเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์ของวิถีชีวิต อาชีพ และสถาปัตยกรรมยุคเก่าที่สวยงาม แต่เมื่อความเป็นเมืองเข้ามา คนในพื้นที่ไม่สามารถสร้างรายได้จากของดีดั้งเดิมที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และมีหลายชุมชนที่จำต้องปิดตัวลงหรือถูกไล่รื้อในที่สุด ในระยะหลัง มีความพยายามที่จะพลิกฟื้นสิ่งเหล่านี้ด้วยการใช้ การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชน นำโดยภาคธุรกิจที่เห็นโอกาสเข้าไปแสวงหากำไร แต่บ่อยครั้งที่การลงทุนใหญ่ไม่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรมหรู กลายเป็นการทำลายบรรยากาศชุมชนดั้งเดิมโดยรอบ ขณะที่ชุมชนเองไม่มองผลกระทบระยะยาว ตัดสินใจละทิ้งอาชีพหรือขายบ้านขายที่ดินเพื่อรายได้ที่มากขึ้นโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าของสิ่งที่ทอดทิ้งไป ส่วนนักท่องเที่ยวเข้าไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์แบบไม่ตระหนักถึงความเสียหายที่ตามมาทั้งการใช้ทรัพยากรเกินจำเป็น หรือนำค่านิยมแบบผิดๆเข้าไปในชุมชน ซึ่งในอดีต เคยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อัมพวา ภูทับเบิก ดังนั้น ทั้งสามส่วน “นักลงทุน ชุมชน นักท่องเที่ยว” เป็นปัจจัยหลักที่ต้องหาจุดสมดุลและคำนึงถึงวิถีชีวิตชุมชนให้มากขึ้น มิฉะนั้นการเข้าไปสร้างรายได้อาจเป็นการทำลายความเป็นตัวตนของชุมชนจนหมดสิ้น

สู่การสร้างสรรค์ (Social Innovation)

TRAWELL เป็นตัวกลางที่เชื่อมโอกาสด้านการท่องเที่ยวชุมชนกับผู้สนับสนุนภายนอก ในการวางรูปแบบการท่องเที่ยวให้ตอบรับกับยุคสมัยมากขึ้นแต่ต้องไม่ทำลายวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายให้ชาวบ้านในชุมชนเป็นเจ้าของตลอดห่วงโซ่การจัดการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ด้วย การสร้างระบบการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านโมเดลการทำงาน 2 ทาง คือ Pass & Product (การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ควบคู่กัน) โดยดึงผู้ที่มีศักยภาพจากภายนอกเข้ามาเป็นกำลังเสริมที่แข็งแกร่ง ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนในด้านเงินลงทุนจะต้องมีการคัดสรรนักลงทุนที่มองในมิติความยั่งยืนของชุมชนด้วย ปัจจุบัน TRAWELL ลงพื้นที่ทำงานกับ 4 ชุมชนในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ นางเลิ้ง บ้านบาตร วังกรมพระสมมตอมรพันธ์ และ ป้อมมหากาฬ โดยทุกชุมชนมีองค์กรกลาง(สหกรณ์ออมทรัพย์ชุมชน) ทั้งนี้ TRAWELL มีการจัดสรรรายได้โดยตรงให้กับองค์กรกลางจากการดำเนินธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ซึ่งในแผนระยะยาว จะนำเงินส่วนกลางนี้ต่อยอดเป็นเงินลงทุนในธุรกิจเจ้าของร่วม (Co-ownership Business) และนำธุรกิจท่องเที่ยวมาเป็นตัวขับเคลื่อน เช่น ที่พัก ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อให้คนในพื้นที่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีรายได้ทางอ้อมในรูปเงินปันผล และเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมกับการท่องเที่ยวที่เข้ามา

สู่การเปลี่ยนแปลง (Social Impact)

http://www.setsocialimpact.com/upload/SET/zsLvYz00ZG.png

ข้อมูลติดต่อ (Contact)

เบอร์โทร: 080-497-4004
Email: trawellthailand@gmail.com
Website: http://www.trawellthailand.com
Facebook: https://www.facebook.com/Trawellthailand

พร้อมรับการแบ่งปัน (Want to grow)

เงินทุน
ซื้อสินค้าและบริการ ระบุประเภทสินค้า/บริการ
สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย
สถานที่จัดกิจกรรม
ที่ปรึกษา/ผู้เชียวชาญ/วิทยากร/ ในเรื่อง
อื่นๆ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ วัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผู้เข้าชม  4279