กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและการตั้งค่าคุกกี้ได้ที่
นโยบายการใช้คุ้กกี้
ยอมรับ
ยอมรับ
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ลงทะเบียน ImpactCreator
Home
About Us
Impact Co-creation
ImpactCreator
BUSINESS CO-CREATION
SE News&Activities
Impact Program
SE101 Online Offering
SE 101@University
SE 102
SE@GE
SE 201
SI GYM
SI GYM N-E-S
Impact Care
Climate Care Platform
Care the Bear
Care the whale
Care the Wild
Impact Movement
Impact Echoes
IMPACT UPDATE
Rules & Regulation
Impact Volunteer
สมัครสมาชิก
ลงทะเบียน ImpactCreator
ลงทะเบียน ImpactVolunteer
Home
About Us
Impact Co-creation
Impact Creator
BUSINESS CO-CREATION
SE News&Activities
Impact Program
SE101 Online Offering
SE 101@University
SE 102
SE@GE
SE 201
SI GYM
SI GYM N-E-S
Impact Care
Climate Care Platform
Care the Bear
Care the whale
Care the Wild
Impact Movement
Impact Echoes
IMPACT UPDATE
Rules & Regulation
Impact Volunteer
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
องค์กรสาธารณประโยชน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยนายมีชัย วีระไวทยะ เพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบท มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ได้รับการยกย่องจาก The Global Journal เป็น 1 ใน 100 องค์กรสาธารณประโยชน์ดีเด่น (The Best NGOs) ลำดับที่ 39 ของโลก
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
องค์กรสาธารณประโยชน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยนายมีชัย วีระไวทยะ เพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบท มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ได้รับการยกย่องจาก The Global Journal เป็น 1 ใน 100 องค์กรสาธารณประโยชน์ดีเด่น (The Best NGOs) ลำดับที่ 39 ของโลก
จุดเริ่มต้น (Beginning Point)
1. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ สามารถรับความรู้และบริการวางแผนครอบครัวได้ โดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็วในลักษณะชุมชนช่วยชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการวางแผนครอบครัวของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย ในอันที่จะลดอัตราการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ เกิดความคิดริเริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตน 3. เพื่อเสริมงานในด้านการพัฒนาต่างๆ แก่ทางราชการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับฐานะการครองชีพ การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนคติในด้านประชากรศึกษา การวางแผน ครอบครัว และการพัฒนาชุมชนกับประเทศต่างๆ
แรงบันดาลใจ (Inspiration)
ปีพุทธศักราช 2517 โครงการวางแผนครอบครัวชุมชน ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบการให้บริการโดยอาสาสมัครในชุมชน หรือระบบชุมชนช่วยชุมชน (Community-Based Distribution System) ด้วยเงินสนับสนุนก้อนแรก จำนวน US$ 2,000 (เกือบ 50,000 บาท ในเวลานั้น) และต่อมาจึงได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ (International Planned Parenthood Federation – IPPF) เพื่อดำเนินการงานวางแผนครอบครัวชุมชน โดยได้ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่แรก บุคคลากรที่ร่วมงานกันในขณะนั้นมีเพียง 10 กว่าคน ที่บ้านเช่าหลังเล็ก ๆ ในซอยสุขุมวิท 14 ใช้ชื่อว่า สำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชน (Community-Based Family Planning Services – CBFPS) ทุกคนทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ ด้วยความมุ่งมั่นและพยายามเพื่อให้งานสำเร็จ ในช่วงเวลานั้นมิได้มีทุกสิ่งทุกอย่างที่พร้อมเช่นปัจจุบัน แต่เพื่อความอยู่รอดขององค์การและตัวเอง ทุกคนมีสำนึกว่าหากงานประสบผลสำเร็จ องค์การมีความก้าวหน้ามั่นคง ทุกคนก็จะมีงานทำ มีรายได้พอเพียงแก่สถานะตามอัตภาพ โดยมีนายมีชัย วีระไวทยะ เป็นผู้นำในการทำงานร่วมกันกับทีมงานที่มุ่งมั่น เนื่องจาก การวางแผนครอบครัว เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย คนไทยยังไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีไทยยังไม่เปิดกว้างให้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าวมากนัก ส่วนมากยังถือกันว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่นำมากล่าวในที่สาธารณะ ในขณะที่ผู้บริหารราชการส่วนหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ชาวบ้านเป็นผู้จ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด ถึงแม้ว่าจะได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีแล้วก็ตาม การจ่ายอุปกรณ์คุมกำเนิดในสมัยนั้นจำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งการเดินทางไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกล การคมนาคมก็ยากลำบาก อัตราเกิดของประชากรไทยในขณะนั้นจึงมีอัตราสูงมาก คือ 3.3% ในปีพุทธศักราช 2517 ประเทศไทย มีอัตราเกิดถึงร้อยละ 3.26 อัตราตายร้อยละ 0.61 อัตราเพิ่มประชากรโดยประมาณร้อยละ 2.7 ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 41.5 ล้านคน นั่นหมายความว่า ในปีหนึ่ง ๆ จะมีประชากรเพิ่มเกือบหนึ่งล้านคน หรือโดยเฉลี่ยคนไทยเกิด 3 คนต่อนาที และทุกคนที่เกิดขึ้นมาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูให้การศึกษาจนถึงอายุ 20 ปีเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 200,000 บาท (ค่าของเงินสมัยนั้น) ข้อมูลเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการอธิบายชี้แจงถึงเหตุผลว่าทำไมประเทศไทยเราจึงต้องมีโครงการวางแผนครอบครัว แต่กระนั้นก็ตามยังมีกระแสต่อต้านต่างๆ นานา เข้าใจว่าเป็นเครื่องมือของชาวต่างชาติในอันที่จะควบคุมจำนวนพลเมืองมิให้เป็นมหาอำนาจบ้าง โรงเรียนไม่มีเด็กนักเรียนครูต้องว่างงานบ้างหรือแม้แต่การกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ก็มีแต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างบริสุทธิ์ มิได้มีสิ่งใดแอบแฝงโครงการวางแผนครอบครัวชุมชน จึงได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม มีชื่อเสียงไปทั่วโลก นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้นำองค์การได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่ยอมรับในวงการประชากรว่า เป็นผู้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการวางแผนครอบครัวของประเทศไทย และนี่คือความจริงที่ได้รับการพิสูจน์ถึงเจตนารมณ์แห่งการทำงานเพื่อประเทศชาติและส่วนรวม
สู่การสร้างสรรค์ (Social Innovation)
สมาคมฯ ทำงานเพื่อสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง การทำงานเพื่อสังคมและชุมชน ซึ่งมีพัฒนาการในการดำเนินกิจกรรมครบวงจร ตลอดจนการเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับหน่วยงานภายในประเทศและนานาชาติ ผ่านศูนย์พัฒนาประชากรและชุมชนแห่งเอเชีย สมาคมฯ สาขา รวมทั้งศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานทั้ง 16 แห่ง เป็นเครื่องยืนยันการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของสมาคมฯ ที่เป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัดของประเทศไทย
โครงการวางแผนครอบครัวและการสาธารณสุขมูลฐาน
เป็นกิจกรรมแรกเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 โดยมีอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชน 12,000 คน ใน 16,000 หมู่บ้าน คลินิกชุมชน และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้ คำแนะนำและบริการอุปกรณ์คุมกำเนิด (...
อ่านต่อ...
การสร้างความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์
สมาคมฯ เป็นองค์กรเอกชนรายแรกของประเทศไทยที่ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่กระจายและการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ การให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลให้กำลังใจ การ...
อ่านต่อ...
การพัฒนาแหล่งน้ำและสุขาภิบาลชุมชน
เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดย ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ฝึกอบรมชาวบ้านเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ในการก่อสร้าง ให้เป็นช่างอาสา และเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้ทำหน้าที่บริหารจัดการ ในรูปของคณะกรรมการ โดยไ...
อ่านต่อ...
การพัฒนาชนบทโดยชักชวนภาคธุรกิจเอกชนเข้าร่วม
การเชิญชวนหน่วยงานภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาชนบท สมาคมฯ ได้ดำเนินการชักชวนให้บริษัทธุรกิจเอกชนที่มีจิตใจดี และมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือสังคมเข้าไปร่วมพัฒนาชนบทใน “โครงการธุรกิจเพื่อสังคม” ซึ่งเริ่มต้นในปี พ...
อ่านต่อ...
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้ริเริ่มการปลูกป่าในพื้นที่สาธารณะ โดยมีชาวบ้านร่วมกันเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการปลูกป่าชุมชน ดูแลรักษาและจัดสรรผลประโยชน์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 และมีการขยายพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศ ภา...
อ่านต่อ...
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 สมาคมฯ ได้รับการติดต่อจากหน่วยงานต่างๆ ให้เข้าไปดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่เฉพาะ เช่น โครงการปตท.พัฒนาหมู่บ้านตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-สหภาพพม่า จำนวน 45 หมู่บ้าน ระยะเวลาดำเนินงา...
อ่านต่อ...
ข้อมูลติดต่อ (Contact)
เบอร์โทร:
02 2294611 - 28
Email:
pda@pda.or.th
Website:
http://www.pda.or.th
Facebook:
พร้อมรับการแบ่งปัน (Want to grow)
เงินทุน
ซื้อสินค้าและบริการ ระบุประเภทสินค้า/บริการ
สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย
สถานที่จัดกิจกรรม
ที่ปรึกษา/ผู้เชียวชาญ/วิทยากร/ ในเรื่อง
อื่นๆ
ผู้เข้าชม 11322
Home
About Us
Impact Co-Creation
ImpactCreator
Business CO-Creation
SE News&Activities
Impact Program
SE101 Online Offering
SE 101@University
SE 102
SI GYM
SI GYM N-E-S
Impact Care
Climate Care Platform
Care the Bear
Care the Whale
Care the Wild
Impact Movement
Impact Echoes
Impact Update
Rules & Regulation
Impact Volunteer
ติดต่อเรา
ชื่อผู้ติดต่อ :
เบอร์โทรศัพท์ :
อีเมล์ :
ประเภทการติดต่อ :
เรื่องตัวชี้วัดการประเมินผลลัพท์ทางสังคม
CARE THE BEAR
CARE THE WHALE
CARE THE WILD
ต้องการจำหน่ายสินค้าและบริการ
ต้องการผู้สนับสนุนเงินทุน
ต้องการผู้สนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่าย
ต้องการผู้สนับสนุนความรู้/ความเชี่ยวชาญ
ต้องการผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ
ต้องการซื้อสินค้าและบริการ
ต้องการแบ่งปันเงินทุน
ต้องการแบ่งปันช่องทางจัดจำหน่าย
ต้องการแบ่งปันความเชี่ยวชาญ
ต้องการแบ่งปันด้านอื่นๆ
ติดต่อสอบถาม
อื่นๆ
เรื่อง :
รายละเอียด :
Message
×
Message
Please wait...